วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

สูตรอาหาร : ปลาทับทิมนึ่งขิงเต้าเจี้ยว


ปลาทับทิมนึ่งขิงเต้าเจี้ยว





เครีองปรุง

ปลาทับทิม
ขิงสดหั่นฝอย
กระเทียมแกะเปลือกสับ
ใบขึ้นฉ่าย
ต้นหอมสด
ตะไคร้ทุบ
พริกสด
เต้าเจี้ยวอย่างดี
น้ำตาลทราย
ผงปรุงรสดี



 วิธีทำ

ล้างปลาด้วยน้ำส้มสายชู จากนั้นล้างด้วยน้ำเปล่า ทุบตะไคร้ยัดใส่ท้องปลา

ต่อไปก็ ปรุงเครื่องเต้าเจี้ยวประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ ใส่น้ำตาล 2 ช้อนชา ผงปรุงรสรสดี 1 ช้อนชา ***ไม่ใส่น้ำปลา


ได้น้ำปรุงแล้วก็จัดวางปลาใส่จานนึ่ง ราดน้ำปรุงให้ทั่วทั้ง 2 ด้าน โรยหน้าด้วยกระเทียมสับ ขิงสด ต้นหอม ขึ้นฉ่าย พริกสด

ได้น้ำปรุงแล้วก็จัดวางปลาใส่จานนึ่ง ราดน้ำปรุงให้ทั่วทั้ง 2 ด้าน โรยหน้าด้วยกระเทียมสับ ขิงสด ต้นหอม ขึ้นฉ่าย พริกสด

ประโยชน์ ของ ขิง


ขิง



สรรพคุณ :

เหง้าแก่สด 
- ยาแก้อาเจียน
- ยาขมเจริญอาหาร
- ยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
- แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ
- สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียดได้ดี
- มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี เพื่อย่อยอาหาร
- แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก
- ลดความดันโลหิต
ต้น - ขับผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้คอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา แก้บิด แก้ลมป่วง แก้ท้องร่วงอย่างแรง แก้อาเจียน
ใบ - แก้โรคกำเดา ขับผายลม แก้นิ่วแก้เบาขัด แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา  ขับลมในลำไส้
ดอก - ทำให้ชุ่มชื่น แก้โรคตาแฉะ ฆ่าพยาธิ ช่วยย่อยอาหาร แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ  แก้นิ่ว แก้เบาขัด แก้บิด

ผล - แก้ไข้

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ยาแก้อาเจียน
ใช้ขิงแก่สด หรือแห้ง ขิงสดขนาดหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ถ้าแห้ง 5-7 ชิ้น ต้มกับน้ำดื่ม
นำขิงสด 3 หัว หัวโตยาวประมาณ 5 นิ้ว ใส่น้ำ 1 แก้ว ต้มจนเหลือ 1/2 แก้ว (ประมาณ 15-20 นาที หลังจากเดือดแล้ว) รินเอาน้ำดื่ม
ยาขมเจริญอาหาร
ใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลี ถ้าผงแห้งใช้ 1/2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 0.6 กรัม
ผงแห้งชงกับน้ำดื่ม เหง้าสดต้มน้ำ หรือปรุงอาหาร เช่น ผัด หรือรับประทานสดๆ เช่น กับลาบ แหนม และอื่นๆ
แก้อาการท้องอืดเฟ้อ จุกเสียดและปวดท้อง
- น้ำกระสายขิง น้ำขิง 30 กรัม มาชงด้วยน้ำเดือด 500 ซีซี ชงแช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง กรองรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
- ใช้ขิงแก่ต้มกับน้ำ รินน้ำดื่มแก้โรคจุกเสียด ทำให้หลับสบาย
- ขิงแก่ยาว 2 นิ้ว ทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว ปิดฝา ตั้งทิ้งไว้นาน 5 นาที รินเอาแต่น้ำมาดื่มระหว่างอาหารแต่ละมื้อ
- ใช้ผงขิงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะปาดๆ หรือ 0.6 กรัม ถ้าขิงแก่สดยาวประมาณ 1 องคุลี หรือประมาณ 5 กรัม ต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลดื่มทุกๆ วัน ถ้าเป็นผงขิงแห้งให้ชงน้ำร้อน เติมน้ำตาลดื่ม
แก้ไอและขับเสมหะ 
ใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือ ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
ลดความดันโลหิต
ใช้ขิงสดเอามาฝานต้มกับน้ำรับประทาน

หมูสับผัดกระเพรา




หมูสับผัดกระเพรา



ส่วนผสม

น้ำมันพืชสำหรับผัด 50 cc.
กระเทียมสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูสับละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ
พริกขึ้หนูบุบ 20 กรัม
เนื้อหมูสับ 200 กรัม
ซอสหอยนางรม 2 ช้อนโต๊ะ
ซอสปรุงรส 1 ช้อนชา
น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนชา
น้ำซุปไก่ 2 ช้อนโต๊ะ
ใบกระเพราเด็ดเป็นใบ 10 กรัม
ข้าวสวยกด
ไข่เป็ดดาวจนสุก 1 ฟอง

วิธีทำ

ใส่น้ำมันพืชลงในกระทะ ตั้งไฟพอร้อน ใส่กระเทียมกับพริกขึ้หนูผัดจนมีกลิ่นหอม
ใส่เนื้อหมูลงผัดจนสุกเหลือง พริกขี้หนูบุบ ปรุงรสด้วยซอสหอยนางรม ซอสปรุงรส น้ำตาลทราย และน้ำซุปไก่
ผัดจนเข้ากัน ใส่ใบกระเพรา ผัดจนกระทั่งสุก ตักราดบนข้าวสวย รับประทานคู่กับไข่ดาว

ประโยชน์ : กระเพรา


กระเพรา




สรรพคุณกะเพรา

ใบ บำรุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้องอุจจาระ แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน และขับลม
เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ[
น้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด
ใบและกิ่งสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08-0.10 ซึ่งมีราคา 10,000 บาทต่อกิโลกรัม

กะเพราลดน้ำตาลและไขมัน

ข้าวผัดกระเพรา เป็นอาหารที่ทุกคนมักจะรู้จัก และคุ้นเคยอย่างดี สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเป็น อาหารที่ปรุงง่าย ไม่มีพิธีรีตองอะไรมากมายแถมรสชาติก็อร่อย

         นอกจากจะมีกลิ่นหองเฉพาะตัว ยังมีสรรพคุณทางยามากมาย เช่น ใบสดของกะเพรามีน้ำมัน หอมระเหยอยู่ ซึ่ง ประกอบด้วย linaloo และmethyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อปวด ท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อน สัก 1 กำมือ มาต้มให้ เดือด แล้วกรองเอาน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็ก ทารกให้นำเอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำนำมา ผสมกับ น้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณ รอบๆ สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของ เด็กได้ และน้ำที่ เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือ ใช้ทาภายนอกแก้โรค ผิวหนัง กลาก เกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหาร ได้อีกด้วย

         สำหรับ ใบแห้ง ใช้ชงดื่มกับน้ำ แก้ท้องขึ้น และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้น สามารถยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางอย่าง และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ ได้นาน 2 ชั่วโมง เมล็ดกะเพรา เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือก ขาว ให้ใช้พอกในบริเวณตา เมื่อตามีผงหรือฝุ่น ละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละออง จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาของเราช้ำ รากกะเพรา ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ ทั้งนี้มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่า กะเพรา มีฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือด และลดไขมันได้

ข้อมูลจาก
- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย 

แกงขมิ้น





เครื่องปรุง


ปลาทูสด หรือปลาช่อนก็ได้ 1 ก.ก.
มะนาว 1 ลูก
กะปิเผา 1 ช้อนโต๊ะ
ขมิ้นผง(แบบซอง) 2 ช้อนชา
พริกขี้หนูแห้ง 25-40 เม็ด ตามชอบ
กระเทียมปลอกแล้ว 3 หัว
หน่อไม้เปรี้ยว 1/2 ก.ก.
น้ำปลา 4 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะขามเปียก 1/2 ถ้วย




วิธีทำ


ตำพริกขี้หนูแห้ง , กะปิ , ขมิ้น , กระเทียม เข้าด้วยกัน
ตักใส่หม้อต้มน้ำที่กำลังต้มน้ำไว้แล้ว 5-6 ถ้วย
ตัดปลาเป็นชิ้นพอเหมาะ
เมื่อน้ำเดือด ใส่ปลาลงไป
ถ้าน้ำยังไม่เดือดห้ามคน จะทำให้คาว
เมื่อปลาสุกได้ที่ ใส่ผักลงไป
ใส่น้ำมะขามเปียก และน้ำมะนาว

ขมิ้นชัน


ขมิ้นชัน



ใช้กินเหง้าของขมิ้นชัน โดยการปอกเปลือก หรือตากแห้งแล้วบดเป็นผงใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง และแบบผงบรรจุแคปซูลเพื่อสะดวกแก่การกิน

ขมิ้นชันมีประโยชน์ และสรรพคุณ หลายประการดังนี้
ขมิ้นชันมีวิตามิน เอ,ซี,อี ทั้ง 3 ตัว วิตามินที่เข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำงานได้ ต้องมีพร้อมกันทั้ง 3 ตัว ซึ่งจะมีผลทำให้ 

- ช่วยลดไขมันในตับ
- สมานแผลภายในกระเพาะอาหาร
- ช่วยย่อยอาหาร
- ทำความสะอาดให้ลำไส้
- เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ
- ต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ
- สร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนัง
- กำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่กินเข้าไปแล้วสะสมในร่างกายเตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง
- ช่วยขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรได้ดี รองมาจากการกินหัวปลี

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์ : มะละกอ


มะละกอ




ประโยชน์ด้านอื่นๆ ของมะละกอ



ในต่างประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่รู้จักมะละกอในฐานะผัก เพราะมะละกอสุกเป็นผลไม้ที่ดีมากชนิดหนึ่ง เป็นที่นิยมกินกันทั่วโลกไม่เฉพาะในเขตร้อนที่ปลูกมะละกอได้เท่านั้น แต่ยังนำเข้าไปในประเทศเขตอบอุ่นที่ปลูกมะละกอไม่ได้อีกด้วย มะละกอสุกสามารถกินสด บรรจุกระป๋อง นำไปทำแยม และทำน้ำผลไม้ได้ดี มีรสอร่อย สีสวยน่ากิน คุณค่าทางโภชนาการสูง มีคุณค่าทางสมุนไพร มีผลให้กินตลอดปี ผลิตได้ง่าย ราคาไม่แพง ฯลฯ มะละกอมีความสำคัญมากในอุตสาหกรรมผลิตเอนไซม์ปาเปอีน (papain) ซึ่งเป็นเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารหมัก ทำให้เนท้อเปื่อยนุ่ม ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นต้น


เอนไซม์ปาเปอีนได้จากยางมะละกอ ซึ่งกรีดแผลบนผลมะละกอดิบแล้วปล่อยให้แห้ง นำยางมะละกอแห้งมาสกัดเอนไซม์ปาเปอีน และเอนไซม์อื่นๆ บางชนิด ยางมะละกอนี้แม่บ้านชาวไทยรู้จักนำมาใช้ประโยชน์นานแล้ว เช่น ใช้หมักเนื้อให้อ่อนนุ่ม ใส่ในต้มแกงให้เนื้อเปื่อยยุ่ย เป็นต้น


มะละกอมีคุณค่าด้านสมุนไพรมากมายแทบทุกส่วนของพืชชนิดนี้ เช่น


ยาง แก้ปวดฟัน ถ่ายพยาธิไส้เดือน กัดหูด ใช้ลบรอยฝ้าบนใบหน้า
ราก ต้มกินขับปัสสาวะ
เมล็ดแก่ ถ่ายพยาธิ แก้กระหายน้ำ
ใบ บำรุงหัวใจ
ผลดิบ เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ
ผลสุก บำรุงธาตุ แก้ธาตุไม่ปกติ แก้กระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ